หน้าหลัก
เกี่ยวกับเรา
บริการ
ข่าวและบทความ
ภาพบรรยากาศ
ติดต่อ
ภาษา
เข้าสู่ระบบ
บทความสุขภาพ

CATH LAB ห้องปฏิบัติการตรวจและการฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจ...เร็วๆนี้

-->

5 โรคร้ายต้องระวัง ช่วงสงกรานต์
5 โรคร้ายต้องระวัง ช่วงสงกรานต์ ช่วงสงกรานต์เป็นอีกหนึ่งเทศกาลแห่งความสนุกสนาน แต่ก็แฝงเอาไว้ด้วยโรคร้ายต่างๆ เนื่องจากเป็นช่วงหน้าร้อนที่มีการเพิ่มจำนวนของเชื้อโรคได้ง่ายอีกทั้งความอับชื้นจากกิจกรรมเล่นน้ำในช่วงสงกรานต์ ซึ่งเราได้รวบรวมมาให้แล้วกับ 5 โรคร้ายที่ต้องระวัง . 1. โรคไวรัสตับอักเสบเอ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสติดต่อกันผ่านทางน้ำลาย โดยในช่วงเทศกาลเล่นน้ำอาจทำให้มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ใช้แก้วน้ำร่วมกัน ใช้ช้อนร่วมกัน 2. ตาแดง ตาอักเสบ การติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจเป็นเชื้อที่อยู่ในอากาศ ถ้าหากเป็นการติดเชื้อที่ดวงตาจากน้ำสกปรกจะเป็นโรคตาอักเสบ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ดวงตาจะเป็นหนองบวมและอักเสบ 3. เชื้อรา โดยเฉพาะบริเวณซอกต่าง ๆ ตามร่างกาย อย่างซอกนิ้วมือ นิ้วเท้า ขาหนีบ บริเวณข้อพับต่าง ๆ 4. ท้องร่วง ท้องเสีย เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสที่ปนเปื้อนในอาหาร ฤดูร้อนเป็นฤดูที่เชื้อโรคเพิ่มจำนวนได้ง่าย ทำให้มีความเสี่ยงสูง 5. ไข้หวัด ปอดอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อ ทางระบบทางเดินหายใจ ซึ่งการเล่นน้ำทำให้อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลง . ข้อมูลจาก อ. นพ.ประวัฒน์ จันทฤทธิ์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล . ให้เราดูแลคุณในทุกปัญหาสุขภาพ สงกรานต์นี้อย่าลืมดูแลสุขภาพกันด้วยนะครับ

อ่านต่อ 2025/04/10


ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) สาเหตุ อาการ เเละการรักษา
ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) สาเหตุ อาการ เเละการรักษา . ด้วยรูปแบบการทำงานของคนยุคใหม่ที่ส่วนใหญ่นั่งติดโต๊ะทำงานและจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวันส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย โดยเฉพาะอาการปวดที่มักเริ่มจากเล็กๆ น้อยๆ ไปจนเรื้อรังและรุนแรง กลายเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ได้ในที่สุด เพราะฉะนั้นก่อนจะสายเกินแก้ ลองสำรวจตัวเองและดูแลป้องกันตั้งแต่วันนี้ . รู้ให้ทันโรคออฟฟิศซินโดรม โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยในคนวัยทำงานที่อยู่ในสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม คือ นั่งทำงานตลอดเวลาโดยไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกายส่งผลให้เกิดการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง และอาจมีอาการชาร่วมด้วยในบริเวณต่างๆ ได้แก่ หลังไหล่ บ่า แขน ฯลฯ หากปล่อยทิ้งไว้จะมีอาการรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และอาจส่งผลต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย . ต้นเหตุของความปวด •นั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานด้วยท่าทางซ้ำๆ ติดต่อกันนานเกิน 6 ชั่วโมงต่อวัน •ท่าทางขณะทำงานไม่ถูกต้อง เช่น นั่งหลังค่อมก้มหรือเงยคอมากไป •จ้องหรือเพ่งจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป ไม่พักสายตาจนปวดตา ปวดศีรษะ •สภาพแวดล้อมที่ทำงานไม่เหมาะสม เช่น โต๊ะเก้าอี้ไม่เหมาะกับสรีระ อากาศเหม็นอับไม่ถ่ายเท •เครียดมากเกินไปจากสาเหตุต่างๆ เช่น งานเยอะทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ . 5 สัญญาณเตือนออฟฟิศซินโดรม 1. ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังเฉพาะจุด บริเวณคอ บ่า ไหล่ หลัง แขน สะบัก ฯลฯ อาจปวดร้าว ปวดล้าๆ บริเวณใกล้เคียง 2. ร่างกายมีอาการซ่า วูบ เย็น เหน็บ ยึด ขนลุก 3. ชาแขนและมือ อ่อนแรง 4. มึน ปวดศีรษะเรื้อรังหรือไมเกรน 5. นิ้วล็อค ข้อมือล็อค เส้นเอ็นอักเสบ เกิดพังผืด ยึดจับ ทำให้ปวดปลายประสาท ระดับความรุนแรงของ ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ระดับที่ 1 เมื่อเกิดอาการขึ้นระยะหนึ่งพักแล้วอาการจะดีขึ้นทันที สามารถรักษาได้ด้วยตนเอง ระดับที่ 2 เมื่อเกิดอาการขึ้น พักนอนหลับแล้ว แต่ยังคงมีอาการอยู่ ดูแลด้วยตนเองและพบแพทย์ ระดับที่ 3 เมื่อเกิดอาการจะปวดมากพักแล้วอาการก็ยังไม่บรรเทา พบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้อง . 6 วิธีง่ายๆ ปรับพฤติกรรมขณะทำงาน 1) ปรับความสูงของเก้าอี้และโต๊ะให้นั่งสบาย นั่งหลังตรงชิดขอบด้านในเก้าอี้ 2) กึ่งกลางจอคอมพิวเตอร์ควรอยู่ระดับสายตา กระพริบตาบ่อยๆ พักสายตาทุกๆ 10 นาที 3) แป้นคีย์บอร์ดในการพิมพ์งานควรอยู่ระดับข้อศอก ข้อมือ 4) ใช้เมาส์โดยพักข้อศอกบนที่รองแขน เคลื่อนไหวได้แบบไม่จำกัด 5) เปลี่ยนท่าทางการทำงานทุก 20 นาที 6) ยืดเหยียดกล้ามเนื้อมือและแขนทุก 1 ชั่วโมง การปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าวสามารถช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดออฟฟิศซินโดรมและทำให้สภาพแวดล้อมการทำงานเหมาะสมมากยิ่งขึ้น . ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สสส. สำนักงานทองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

อ่านต่อ 2025/03/19


นอนกรน เรื่องเล็กๆ..แต่ แฝงปัญหาใหญ่
นอนกรน เรื่องเล็กๆ..แต่ แฝงปัญหาใหญ่ . นอนกรนเกิดจากการที่กล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน มีการหย่อนตัวลง ทำให้ทางเดินหายใจตีบแคบ เมื่อมีลมหายใจ ผ่านก็จะทำให้เนื้อเยื่อดังกล่าวเกิดการสั่นสะเทือนและกระพือจนทำให้เกิดเป็นเสียงกรน ซึ่งการนอนกรนเป็นหนึ่งในอาการสำคัญของภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea, OSA) . ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงนอนกรน • คนที่ป่วยเป็นภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ ริดสีดวงจมูก โครงสร้างของจมูกผิดปกติ เช่น ผนังกั้นช่องจมูกคด เป็นต้น กลุ่มนี้ทางเดินหายใจจะถูกปิดกั้น • คนที่หลับลึก ดื่มแอลกอฮอล์หนัก ใช้ยานอนหลับ คนสูงอายุกลุ่มนี้ลิ้นและกล้ามเนื้อที่ลำคอจะหย่อนคลายตัวถอยกลับไป อุดกั้นทางเดินหายใจ • คนอ้วน น้ำหนักมาก คอหนา ขนาดรอบคอมากกว่า 43เซนติเมตร ต่อมทอนซิลหรืออะดีนอยด์โต ทำให้เนื้อเยื่อลำคอมีขนาดใหญ่ • คนที่มีเพดานอ่อนหย่อนหรือลิ้นไก่ยาว ส่งผลให้ทางเดินหายใจหลังจมูกและบริเวณลำคอตีบแคบลง เมื่อเพดานอ่อนหรือลิ้นไก่สั่นหรือชน จึงไปปิดกั้นทางเดินหายใจ . การรักษาทั่วไป 1. ลดน้ำหนักอย่างน้อย 10% ของน้ำหนักร่างกาย ช่วยให้หลับดีขึ้น 2. เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ภายใน 4 ชั่วโมงก่อนนอนหรือใช้ยานอนหลับเพราะจะกดการหายใจ ทำให้อาการแย่ลง 3. นอนตะแคง บางคนหยุดหายใจขณะหลับในท่านอนหงาย หนุนหมอนข้างเอาไว้ด้านหลังช่วยได้ . การรักษาเฉพาะ 1. ใช้เครื่องอัดอากาศอย่างบวก (Positive Airway Pressure; PAP) ได้ผลดีที่สุด มีหน้ากากสวมทับบริเวณจมูกในขณะหลับ 3. Oral Appliance หรือทันตอุปกรณ์ที่เลื่อนคางมาด้านหน้าเหมาะสำหรับผู้มีระดับอาการรุนแรงน้อยถึงปานกลาง 2. การผ่าตัดทอนซิลหรือต่อมอะดีนอยด์ขนาดใหญ่ (มักผ่าตัดในเด็ก) การผ่าตัดตกแต่งลิ้นไก่ เพดานอ่อน และช่องคอ จะช่วยลดอาการคัดแน่นจมูกและช่วยเรื่องการนอนกรนได้ แต่อาจไม่เพียงพอสำหรับการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นได้ . ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สสส. สำนักงานทองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

อ่านต่อ 2025/03/11


หมอแล็บเตือน "โรคไข้อีดำอีแดง" (Scarlet Fever) กำลังระบาด บางโรงเรียนต้องประกาศหยุดเรียนเพื่อป้องกัน
หมอแล็บเตือน "โรคไข้อีดำอีแดง" (Scarlet Fever) กำลังระบาด บางโรงเรียนต้องประกาศหยุดเรียนเพื่อป้องกัน ชี้เป็นโรคติดเชื้อจากแบคทีเรีย ที่มักจะเจอในเด็ก อายุ 5-15 ปี . ไข้อีดำอีแดงระบาด บางโรงเรียนต้องหยุดเรียน! . ไข้อีดำอีแดง (Scarlet Fever) เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรีย สเตรปโตคอคคัสชนิดเอ มักจะเจอในเด็กวัยเรียน อายุ 5-15 ปี . แบคทีเรียชนิดนึ้สร้างสารพิษได้ ทำให้เกิดผื่นแดงขึ้นตามตัว เชื้อนี้สามารถติดต่อผ่าน: • การไอหรือจาม • การสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย น้ำมูก • การใช้ของร่วมกัน เช่น ของเล่น หรือข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ อาการ ผู้ป่วยมักจะแสดงอาการภายใน 1 สัปดาห์หลังติดเชื้อ • มีไข้สูง • เจ็บคอ อาจมีหนองหรือจุดเลือดออกที่ต่อมทอนซิล • ผื่นแดงสากคล้ายกระดาษทราย เริ่มจากลำตัวและกระจายไปแขนขา มักไม่ขึ้นที่ใบหน้า แต่แก้มจะแดงและมีวงซีดรอบปาก • ลิ้นแดงเป็นปุ่มๆคล้ายสตรอเบอร์รี่ • อาการอื่น ๆ เช่น ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ต่อมน้ำเหลืองโต หนาวสั่น และปวดท้อง เนื่องจากเป็นเชื้อแบคทีเรีย ก็เลยรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ ซึ่งถ้าไม่รักษาอาจเกิดอาการแทรกซ้อน เช่น โรคไข้รูมาติก หรือหน่วยไตอักเสบเฉียบพลันได้ . ถ้าพบการระบาดก็ควรให้หยุดเรียนหรือแยกตัวเด็กป่วยออกจากคนอื่นจนกว่าได้ยาปฏิชีวนะไปแล้วอย่างน้อย 24 ชั่วโมงจึงจะไม่แพร่เชื้อให้ผู้อื่นต่อไปนะครับ . ขอขอบคุณข้อมูลจาก #หมอเเล็ปเเพนด้า

อ่านต่อ 2025/02/28


ให้เรา..ดูเเลหัวใจคุณ โรงพยาบาลสุขสวัสดิ์อินเตอร์เปิดให้บริการห้องปฏิบัติการตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจและรังสีร่วมรักษา
ให้เรา..ดูเเลหัวใจคุณ ห้องปฏิบัติการตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจและรังสีร่วมรักษาพร้อมให้บริการตรวจวินิจฉัยอาการผิดปกติด้านหัวใจและให้การรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ ที่มีความซับซ้อนด้วยความเชี่ยวชาญในการรักษา ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ในการตรวจวินิจฉัยและวิเคราะห์โรคหัวใจที่ได้มาตรฐาน พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง . การให้บริการของห้องปฏิบัติการตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจและรังสีร่วมรักษา * ทำการฉีดสีเพื่อตรวจวินิจฉัยหลอดเลือดหัวใจ * ขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดค้ำยัน * ทำการฉีดสีเพื่อดูการบีบตัวและตรวจวินิจฉัยลิ้นหัวใจผิดปกติ * ตรวจวัดความดันภายในหัวใจหลอดเลือดและปอด * ทำการใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจแบบต่าง ๆ * การจี้ไฟฟ้าหัวใจ รักษาภาวะ ที่หัวใจเต้นผิดจังหวะ . หากมีอาการที่สงสัยของโรคหัวใจหรือเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ สามารถเข้ารับบริการได้ที่ โรงพยาบาลสุขสวัสดิ์อินเตอร์ . เราพร้อมดูแลสุขภาพหัวใจทุกดวงด้วยแพทย์เฉพาะทาง สอบถามเพิ่มเติม โทร 02-8746766 ถึง 70 FB : https://bit.ly/3aXhegb Line Official : @sshospital มี@ด้านหน้า หรือ https://bit.ly/3B84T39 แผนที่ https://maps.app.goo.gl/MeGWbf3N7jTLtY8i9 ---------------------------------------

อ่านต่อ 2025/02/19


TACE ทางเลือกในการรักษามะเร็งตับ ไม่ต้องผ่าตัด ลดผลข้างเคียง
TACE ทางเลือกในการรักษามะเร็งตับ ไม่ต้องผ่าตัด ลดผลข้างเคียง . การรักษามะเร็งตับด้วยวิธี TACE TACE ย่อมาจาก TransarterialChemoembolization เป็นการรักษาโรคมะเร็งตับ ในระยะที่ 3 หรือที่เรียกว่าระยะ Intermediate Stage ซึ่งการรักษาด้วยวิธี TACE คือการให้ยาเคมีบำบัดเฉพาะที่ โดยแพทย์จะทำการเจาะผิวหนังให้เป็นแผลขนาดเล็ก เพื่อสอดสายให้ยาบริเวณขาหนีบด้านขวาหรือซ้าย หลังจากนั้นจะทำการใส่สายสวนหลอดเลือดเข้าไปยังตำแหน่งที่มีก้อนมะเร็งอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นก้อนมะเร็งที่ตับ แล้วจึงให้ยาเคมีบำบัดเฉพาะที่ . ขั้นตอนการทำ TACE การตรวจรักษาต้องกระทำในห้องเอ็กซเรย์หลอดเลือดโดยการฉีดยาชาเฉพาะที่บริเวณขาหนีบ และใส่สายสวนไปในหลอดเลือดแดงที่ตับ โดยแพทย์สามารถมองเห็นสายสวนเคลื่อนไปตามหลอดเลือดได้จากจอรับภาพจากเครื่องเอ็กซเรย์เมื่อสายสวนเคลื่อนไปยังจุดที่ต้องการ จึงทำการฉีดสารทึบรังสีเพื่อดูพยาธิสภาพอและลักษณะของหลอดเลือด จากนั้นจึงให้ยาเคมีบำบัดผสมสารทึบรังสี ฉีดเข้าบริเวณก้อนเนื้องอกและทำการอุดกั้นหลอดเลือดจนกระทั่งไม่มีเลือดไปเลี้ยงก้อนมะเร็ง . การทำ TACE มีประโยชน์ต่อคนไข้มะเร็งตับอย่างไร 1. ก้อนมะเร็งถูกทำลายโดยตรงจากยาเคมีบำบัดและจากการขาดเลือดไปเลี้ยง 2. ปริมาณของยาเคมีบำบัดที่ใช้ปริมาณน้อยทำให้ลดผลข้างเคียงต่อร่างกายส่วนอื่น ๆ 3. ใช้เวลาพักฟื้นน้อย คนไข้ไม่ต้องนอน รพ.นาน . การติดตามผลหลังเข้ารับการรักษาด้วย TACE หลังคนไข้เข้ารับการรักษาด้วยวิธี TACE แพทย์จะทำการติดตามผลการรักษา ด้วยเครื่อง CT Scan หรือ MRI ภายใน 4 สัปดาห์หลังจากเข้ารับการรักษา เพื่อทำการประเมินว่าลักษณะของก้อนมะเร็งมีขนาดเป็นอย่างไร ยุบลงมากน้อยไค่ไหน หรือมีการตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดระดับไหน หากมีการตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดได้ดี อาจจะทำการรักษาต่อเนื่องอีกไม่กี่ครั้งก็สามารถคุมโรคได้ หลังจากนั้นก็แค่นัดคนไข้มาติดตามอาการต่อเป็นระยะ . TACE กับการรักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม โดยปกติหากคนไข้มีก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ หรือเป็นมะเร็งระยะลุกลามมาก หากไม่ทำการรักษา โอกาสเสียชีวิตสูง ในระยะเวลาสั้น แต่หากเข้ารับการรักษาด้วยวิธี TACE จากงานวิจัยหรือผลการรักษาที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า TACE มีประโยชน์อย่างมากหากก้อนมะเร็งตอบสนองต่อการรักษาได้ดี จะสามารถยืดอายุของผู้ป่วยมะเร็งออกไป 2-5 ปี . วิธีการดูแลตัวเองก่อนและหลังการรักษา 1. ก่อนรักษาต้องงดน้ำและอาหาร 6 ชม. และคนไข้จะได้รับตรวจเลือดและเอ็กซเรย์อย่างละเอียด 2. หลังทำการรักษาแพทย์จะดึงสายสวนออก และทำการห้ามเลือดบริเวณขาหนีบ ผู้ป่วยจึงต้องนอนราบบนเตียง และงอขาหนีบภายใน 6-8 ชม.แรก หลังการรักษา 3. คนไข้ต้องนอนพักเพื่อดูอาการอย่างน้อย 1 วันหลังการรักษา 4.เข้ารับการตรวจประเมินผลการรักษาภายใน 4 สัปดาห์กรณีก้อนมีขนาดใหญ่ หรือหลายตำแหน่ง อาจต้องรักษามากกว่า 1 ครั้ง คนไข้ควรมาทำการรักษาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด . TACE ทางเลือกในการรักษามะเร็งตับ ไม่ต้องผ่าตัด ลดผลข้างเคียง : น.อ.นพ.เถลิงเกียรติ แจ่มอุลิตรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีร่วมรักษา โรงพยาบาลสุขสวัสดิ์อินเตอร์

อ่านต่อ 2025/02/10


ไข้หวัดใหญ่ อาการเป็นแบบไหนใครกลุ่มเสี่ยง
ไข้หวัดใหญ่ อาการเป็นแบบไหนใครกลุ่มเสี่ยง . โรคไข้หวัดใหญ่ คืออะไร โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ พบบ่อยในฤดูฝน (มิถุนายน-ตุลาคม) และฤดูหนาว (มกราคม-มีนาคม) ของทุกปี อาการของโรคจะมีตั้งแต่อาการเล็กน้อยไปจนถึงอาการที่รุนแรงและเสียชีวิตได้ . ไข้หวัดใหญ่มีความแตกต่างจากไข้หวัดธรรมดาอย่างไร เกิดจากเชื้อไวรัสต่างชนิดกัน และมีความรุนแรงแตกต่างกัน โดยไข้หวัดใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) ส่วนไข้หวัดธรรมดานั้นเกิดจากการเชื้อไวรัสชนิดอื่นๆ เช่น rhinovirus, adenovirus เป็นต้น โดยไข้หวัดใหญ่มักจะมีอาการรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้ . ไข้หวัดใหญ่ในคนมีกี่สายพันธุ์ ไข้หวัดใหญ่ในคนมีทั้งหมด 3 สายพันธุ์ คือ A, B และ C แต่มีเพียงสายพันธุ์ A และ B ที่มีการระบาดโดยทั่วไป โดยไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A แบ่งออกเป็นหลายซัปไทด์ ซัปไทด์ที่มีการระบาดเป็นประจำคือ H1N1 และ H3N2 ส่วนไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B แบ่งออกเป็น 2 lineages คือ Victoria และ Yamagata โดยอาการมักไม่รุนแรงเท่าสายพันธุ์ A . ไข้หวัดใหญ่ติดต่อได้อย่างไร ไข้หวัดใหญ่ติดต่อจากการสัมผัสละอองฝอยจากการไอและการจามของผู้ป่วย เชื้อไวรัสจะอยู่ในเสมหะ น้ำมูก และน้ำลาย โดยผู้ป่วยจะมีอาการหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 1-4 วัน . อาการของโรคไข้หวัดใหญ่เป็นอย่างไร ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่มีอาการแตกต่างกันตามอายุ โดยในกลุ่มเด็กโตและวัยรุ่นจะมีอาการของไข้สูงเฉียบพลัน หนาวสั่น ปวดเมื่อยตามตัวและกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะในบริเวณหลัง ต้นแขน ต้นขา มีน้ำมูกใส คัดจมูก ไอแห้ง เจ็บคอ และเบื่ออาหาร ส่วนในเด็กเล็กจะมีไข้สูง ร่วมกับอาการทางระบบอื่น เช่น ถ่ายเหลว คลื่นไส้อาเจียน และชักจากไข้สูง . ใครเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ - หญิงมีครรภ์ - เด็กเล็ก อายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี - บุคคลที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป - ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หืด หัวใจ ไตวาย หลอดเลือดสมอง เบาหวาน ธาลัสซีเมีย มะเร็งที่อยู่ระหว่างได้รับเคมีบำบัด ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ติดเชื้อเอชไอวี - ผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 100 กิโลกรัม หรือดัชนีมวลกายตั้งแต่ 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร . ไข้หวัดใหญ่รักษาอย่างไร? ไข้หวัดใหญ่สามารถหายเองได้ หากมีอาการไม่รุนแรงสามารถดูแลเองที่บ้านและรักษาตามอาการ เช่น เมื่อมีไข้สูงให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว และใช้ยาลดไข้พาราเซตามอล หรือถ้ามีน้ำมูกให้ใช้ยาลดน้ำมูกและยาละลายเสมหะ ดื่มน้ำให้เพียงพอ รับประทานอาหารอ่อนและให้นอนพักผ่อน ส่วนผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อน อาจต้องใช้ยาต้านไวรัส โอลเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) ในการรักษา ผู้ป่วยที่มีอาการหอบเหนื่อย สงสัยปอดอักเสบหรือมีอาการที่รุนแรงอื่น อาจมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการรักษาโดยการนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เพื่อได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างใกล้ชิด . มีวิธีป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่อย่างไรบ้าง ไม่ควรคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไข้หวัด หรือถ้าจำเป็นควรปิดปาก จมูกด้วยหน้ากากอนามัย ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด และอากาศถ่ายเทไม่ดีเป็นเวลานานโดยไม่จำเป็น หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ปีละครั้ง โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง . ทำไมต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี เนื่องจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดนั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์อยู่เรื่อย ๆ ในการผลิตวัคซีนแต่ละปีจึงมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ตามเชื้อไวรัสด้วยเช่นกัน และเนื่องจากระยะก่อโรคสั้น จำเป็นต้องมีภูมิคุ้มกันสูงเพียงพอเพื่อเตรียมพร้อมในการป้องกันโรค ดังนั้นจึงต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี ขอขอบคุณข้อมูลจาก: สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย

อ่านต่อ 2025/02/07


ส่องกล้องทางเดินอาหาร ผลแม่นยำ รู้ทันโรคร้าย
ส่องกล้องทางเดินอาหาร ผลแม่นยำ รู้ทันโรคร้าย . การส่องกล้องทางเดินอาหารยังเป็นหนึ่งในการตรวจคัดกรองมะเร็งกระเพาะอาหารที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากมะเร็งกระเพาะอาหารเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของมะเร็งในประเทศไทย สัญญาณเตือนความผิดปกติของโรคทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะเป็นอาการอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน ท้องผูก หรือ ท้องเสียเรื้อรัง จุกแน่นลิ้นปี่ ท้องอืด ท้องเฟ้อ กลืนลำบาก น้ำหนักลด ตัวเหลือง ตาเหลือง ซึ่งมักวินิจฉัยได้เมื่อมีอาการลุกลามแล้ว เป็นสัญญาณสุขภาพอันตรายที่ไม่ควรละเลยมองข้าม และควรเร่งได้รับการตรวจวินิจฉัยเพื่อการรักษาอย่างถูกทางด้วย . การส่องกล้องทางเดินอาหาร มีด้วยกัน 2 แบบ คือ 1.Gastroscopy - ส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น 2.Colonoscopy - ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ . การเตรียมตัวก่อนการส่องกล้อง มีดังนี้ 1.แจ้งโรคประจำตัว ยาที่ใช้ การแพ้ยาและประวัติการผ่าตัดแก่แพทย์ 2.งดน้ำและอาหารก่อนตรวจ 6-8 ชม. 3.งดทานยาเคลือบกระเพาะอาหาร 4.ถอดฟันปลอมออกก่อนตรวจ (กรณีใส่ฟันปลอมแบบถอดได้)

อ่านต่อ 2025/01/30


ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างไรบ้าง
ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างไรบ้าง . ฝุ่น PM 2.5 มีความสัมพันธ์กับโรคภูมิแพ้อย่างมาก เพราะกลไกการอักเสบที่ลงลึกไปที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบนและระบบทางเดินหายใจส่วนล่างส่งผลต่อภูมิแพ้ทางเดินหายใจและภูมิแพ้ผิวหนัง เวลาที่สูดเข้าไปจะเกิดการอักเสบทั้งทางเดินหายใจส่วนบน เช่น ภูมิแพ้โพรงจมูก จาม น้ำมูก คัดจมูก ลามไปถึงโพรงไซนัสอักเสบ ส่วนการอักเสบทางเดินหายใจส่วนล่างคือ บริเวณหลอดลมกับถุงลม ดังนั้นฝุ่น PM 2.5 นอกจากสัมพันธ์กับภูมิแพ้ยังสัมพันธ์กับโรคหอบหืดอีกด้วย ที่น่าสนใจคือมีข้อมูลระบุว่า เมื่อร่างกายได้รับฝุ่น PM 2.5 เพิ่มขึ้นจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้เดิมได้ไวขึ้น และเกิดการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้ชนิดใหม่เพิ่มขึ้นได้ ซึ่งทำให้โรคภูมิแพ้โพรงจมูก โรคหอบหืดกำเริบรุนแรงขึ้นได้ . พญ.ฉันทนา ผดุงทศ ผอ.กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงผลกระทบฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ว่า ข้อมูลสะสมตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567-มกราคม 2568 มีรายงานผู้ป่วย 4 กลุ่มโรคที่เฝ้าระวังประมาณ 1 ล้านราย มากที่สุดคือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ได้รับผลกระทบจากฝุ่นราว 2 แสนราย เป็นต้น . ทั้งนี้ การที่คนเราได้รับฝุ่น PM 2.5 ต่อเนื่อง กรณีที่ป่วยอยู่แล้ว ในระยะยาวจะทำให้ป่วยรุนแรง เช่นปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือหอบหืดอยู่แล้ว แทนที่จะหายใจได้บ้างก็กลายเป็นหายใจลำบาก เพราะฝุ่นทำให้โรคไม่หายเสียที นอกจากนี้ ยังมีโอกาสได้รับสารเคมีตัวอื่นที่เกาะกับฝุ่น PM 2.5 เข้าสู่ร่างกายได้ด้วย ฝุ่น PM 2.5 เข้าไปได้ลึกถึงถุงลม สารเคมีที่มาจับกับฝุ่นก็ลงไปได้ลึกเท่านั้น ที่เรากังวลคือการก่อมะเร็งปอดในอนาคต . ฝุ่น PM2.5 มีผลกระทบเซลล์หลอดเลือด เมื่อถามว่า การได้รับฝุ่น PM2.5 อยู่เรื่อยๆ ระยะยาวทำให้อวัยวะที่ได้รับผลกระทบทำงานอ่อนแอลงด้วยหรือไม่ พญ.ฉันทนา กล่าวว่า คงไม่เหมือนโควิด ซึ่งผลกระทบจริงๆ ของฝุ่น PM 2.5 นั้นเข้าไปทำร้ายเซลล์หลอดเลือด เช่น เส้นเลือดหัวใจตีบ เนื่องจากฝุ่นฝุ่น PM2.5 เข้าไปทำให้ผนังเส้นเลือดไม่แข็งแรง หรือกรณีที่เกิดอัมพาต อัมพฤกษ์ โรคเกี่ยวกับสมองเพราะฝุ่น PM2.5 เข้าไปทำให้เส้นเลือดสมองไม่แข็งแรง ทำให้เกิดการอุดตันได้ง่าย . อันตราย! ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด เมื่อถามว่า ฤดูฝุ่นมาเป็นระยะ พอพ้นไปแล้วร่างกายจะสามารถฟื้นตัวได้หรือไม่ พญ.ฉันทนา กล่าวว่า ถ้าเป็นกรณีการอักเสบ เหมือนเป็นแผล ถ้าไม่มีฝุ่น PM2.5 เข้ามาทำให้เกิดการระคายเคืองอีก ก็สามารถหายได้ แต่กรณีโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืดก็จะเข้าสู่ภาวะโรคปกติ เช่น ยังต้องพ่นยาอยู่ แต่ก็ไม่ต้องพ่นเยอะเหมือนช่วงที่มีฝุ่น PM2.5 แต่ในส่วนของมะเร็งนั้น อาจจะต้องดูระยะยาว นี่คือสิ่งที่เราต้องติดตาม . วิธีป้องกันตัวเองจาก ฝุ่น PM2.5 1. สวมหน้ากากอนามัย ที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับการใช้งาน เช่น หน้ากากอนามัย N95 หรือ N99 ซึ่ง สามารถกรองฝุ่น PM2.5 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. ปิดประตูหน้าต่างให้สนิท เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองเข้ามาภายในอาคาร และการติดตั้งเครื่องฟอกอากาศในบ้านช่วยปรับปรุงคุณภาพอากาศในพื้นที่ปิด 3. หลีกเลี่ยงการออกไปนอกอาคารในช่วงที่มีฝุ่น PM2.5 สูง โดยเฉพาะในช่วงเช้าและเย็น ซึ่งเป็นช่วงที่ฝุ่นจะกระจายมากที่สุด หากจำเป็นต้องออกไปข้างนอก ให้พยายามอยู่ในที่ที่มีอากาศหมุนเวียนดี หรือใส่หน้ากากตลอดเวลา นอกจากนี้ ควรล้างหน้า ล้างมือ และอาบน้ำทันทีเมื่อเข้าบ้าน เพื่อขจัดฝุ่นที่ติดมา 4. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย . แม้ว่าฝุ่น PM 2.5 จะเป็นปัญหาที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่การป้องกันตัวเองอย่างเหมาะสมสามารถลดผลกระทบต่อสุขภาพได้ การสวมหน้ากากป้องกันฝุ่น การอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยหรือหากพบอาการผิดปกติให้รีบมาพบแพทย์ทันที ข้อมูลจาก: Hfocus เจาะลึกข้อมูลข่าว,กรมควบคุมโรค

อ่านต่อ 2025/01/30


hMPV ไวรัสทางเดินหายใจอาการเหมือนหวัดแต่อาจเกิดปอดอักเสบรุนแรง
hMPV ไวรัสทางเดินหายใจอาการเหมือนหวัดแต่อาจเกิดปอดอักเสบรุนแรง . hMPV เป็นไวรัสที่ก่ออาการในระบบทางเดินหายใจ และเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดปอดอักเสบในเด็ก การติดเชื้อนี้มักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งโรคนี้ยังไม่มียารักษา ต้องรักษาตามอาการเท่านั้น . อาการ 1.มีไข้ ไอเเละเป็นหวัด 2.เจ็บคอ 3.มีน้ำมูกและมีเสมหะ 4.หายใจติดขัด หายใจเหนื่อย หอบ . การป้องกัน 1.ใส่หน้ากากอนามัย 2.หมั่นล้างมือบ่อย ๆ 3.เลี่ยงสถานที่แออัด 4.ไม่ให้เด็กแคะจมูกหรือเอานิ้วเข้าปาก . ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค

อ่านต่อ 2025/01/17


โนโรไวรัส เชื้อร้าย ระบาดมากในเด็ก คุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าระวัง
โนโรไวรัส เชื้อร้าย ระบาดมากในเด็ก คุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าระวัง . โนโรไวรัส (Norovirus) สาเหตุการอักเสบติดเชื้อของระบบทางเดินอาหาร . กรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กเด็กแห่งชาติมหาราชินี แนะผู้ปกครองหมั่นดูแลสุขภาพอนามัยเด็ก ๆ หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ รับประทานอาหารปรุงสดใหม่ สุก สะอาด เพื่อช่วยลดการอักเสบติดเชื้อของระบบทางเดินอาหาร . นายแพทย์ธนินทร์ เวชชาภินันท์ รองอธิบดีกรมการเเพทย์ เปิดเผยว่า โนโรไวรัส (Norovirus) เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อของระบบทางเดินอาหาร ที่พบได้บ่อยในเด็ก เชื้อนี้มีความสามารถที่จะแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว แม้ได้รับเชื้อในปริมาณเพียงเล็กน้อย เนื่องจากสามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้เป็นเวลานาน และทนต่อความร้อนและน้ำยาฆ่าเชื้อต่าง ๆได้ดี หลังจากได้รับเชื้อ มักจะมีอาการภายใน 12- 48 ชั่วโมง อาการแสดงของโรคที่พบได้บ่อย คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเป็นน้ำ ปวดท้อง อาจมีไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว และอาจมีภาวะขาดน้ำที่อาจเกิดในผู้ป่วยเด็กเล็ก หรือผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่จะหายได้เองภายใน 1-3 วัน สถานการณ์ในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี พบมีจำนวนมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยนอกมีจำนวนไม่มากนักที่มีอาการรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล อย่างไรก็ตามการรายงานอาจจะต่ำกว่าความเป็นจริง เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการตรวจหาเชื้อมีราคาค่อนข้างสูง จึงไม่ได้ส่งตรวจในผู้ป่วยทุกราย ยกเว้นในรายที่ต้องนอนโรงพยาบาล หรือมีความเสี่ยงต่อการแพร่กระจาย เพื่อใช้ในการแยกโรคเป็นหลัก . นายแพทย์อัครฐาน จิตนุยานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันยังไม่มียาหรือการรักษาเฉพาะเจาะจง แต่เป็นการดูแลตามอาการที่เกิดขึ้น และส่วนใหญ่ อาการต่าง ๆ จะดีขึ้นได้ในเวลา 3-4 วัน ในรายที่อาการไม่รุนแรง ให้ดื่มน้ำเกลือแร่ ในกรณีที่อาเจียนและท้องเสีย ให้ทานอาหารอ่อนๆ ร่วมกับให้ยาแก้อาเจียน ยาแก้ปวดท้อง ตามอาการ ในรายที่มีภาวะขาดสารน้ำค่อนข้างมาก หรือมีอาเจียน ปวดท้อง และถ่ายตลอด อาจเกิดอันตรายจากการขาดน้ำ ส่งผลให้เกิดภาวะทำให้ช็อค ความดันโลหิตต่ำ พิจารณาให้เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ให้น้ำเกลือทางหลอดเลือด และติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด ผู้ป่วยที่จะมีโอกาสเกิดอันตรายจากการขาดน้ำได้แก่ ผู้ป่วยเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว วิธีการป้องกันในสถานศึกษาหรือในศูนย์เด็กเล็กแนะนำให้หมั่นรักษาสุขอนามัยด้วยการล้างมือด้วยน้ำและสบู่ ทำความสะอาดพื้นหรือสิ่งแวดล้อม หรือจุดเสี่ยงที่คาดไม่ถึง ที่เราสัมผัสในชีวิตประจำวัน - ปุ่มลิฟต์ ลูกบิดประตู แท็บเล็ตหรือโทรศัพท์ที่ใช้ร่วมกัน พื้นผิวเหล่านี้สามารถเป็นแหล่งสะสมเชื้อได้เป็นเวลาหลายวัน โดยโซเดียมไฮโปคลอไรด์ ไม่ควรใช้ 70% แอลกอฮอล์ เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสไม่มีเปลือกหุ้ม และมีคุณสมบัติที่ทนทานต่อการฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ การล้างมือบ่อยๆ จึงสำคัญมาก กรณีที่มีเด็กป่วย แนะนำให้แยกตัวเพื่อรักษาอาการที่บ้านเป็นเวลา 48 ชั่วโมงหลังจากอาการดีขึ้นเป็นปกติ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อ หากอาการไม่ดีขึ้น ควรพามาพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยต่อไป . ขอขอบคุณข้อมูลจาก #กรมการแพทย์ #โนโรไวรัส

อ่านต่อ 2024/12/16


โรคไอกรน การติดเชื้อทางเดินหายใจ ภาวะแทรกซ้อนอันตราย อาการ วิธีป้องกัน คุณพ่อคุณเเม่ควรเฝ้าระวัง
#โรคไอกรน การติดเชื้อทางเดินหายใจ ภาวะแทรกซ้อนอันตราย อาการ-วิธีป้องกัน คุณพ่อคุณเเม่ควรเฝ้าระวัง . สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติฯ กรมการแพทย์ เผยกลุ่มเสี่ยง "โรคไอกรน" ที่อาการจะรุนแรง เผยอาการที่ต้องรีบพบแพทย์ เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ระบบทางเดินหายใจ สามารถติดต่อได้ง่ายผ่านการไอ จาม และการหายใจเอาละอองฝอยที่มีเชื้อเข้าไป ย้ำมีวัคซีนป้องกัน . ไอกรน (Whooping Cough) โรค ไอกรนเป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจ และเกิดอาการไอ ที่มีลักษณะพิเศษคือ ไอซ้อนๆ ติดๆ กัน 5-10 ครั้ง หรือมากกว่านั้นจนเด็กหายใจไม่ทัน จึงหยุดไอ และมีอาการหายใจเข้าลึกๆ เป็นเสียง วู๊ป (Whooping cough) สลับกันไปกับการไอเป็นชุดๆ จึงมีชื่อเรียกว่า “โรคไอกรน” บางครั้งอาการอาจจะเรื้อรังนานเป็นเวลา 2-3 เดือน . อาการ อาการคลาสสิกคือเสียง "ฮู้ป" ซึ่งเป็นเสียงของคนที่หายใจหอบในช่วงที่ไออย่างหนัก แต่คุณอาจติดเชื้อได้โดยไม่ต้องมีเสียง "ฮู้ป" อาการไอฮู้ปสามารถแพร่กระจายได้ก่อนที่จะมีอาการ การวินิจฉัยอาจทำได้ยากเนื่องจากอาการในระยะเริ่มแรกอาจปรากฏขึ้นเหมือนกับไข้หวัดธรรมดาหรือหลอดลมอักเสบ . โรคไอกรนสามารถแพร่สู่ทารกที่อ่อนแอซึ่งยังไม่ได้รับวัคซีนใดๆ หรือฉีดให้ครบโดส ทารกอาจเกิดอาการปอดบวม หายใจช้าหรือหยุดหายใจ หรือชัก ส่วนทารกอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหรือถึงแก่ชีวิตได้ . การรักษา มียาปฏิชีวนะหลายชนิดที่ใช้รักษาโรคไอกรนได้ และการรักษาในระยะเริ่มต้นถือเป็นสิ่งสำคัญมาก การรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะทำให้การติดเชื้อไม่รุนแรงหากเริ่มตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่อาการไอจะเริ่มขึ้น นอกจากนี้ ยาปฏิชีวนะยังอาจช่วยลดระยะเวลาที่บุคคลจะแพร่เชื้อได้ ซึ่งสามารถช่วยป้องกันไม่ให้โรคแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้ โรคไอกรนบางครั้งอาจร้ายแรงมากจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล . การป้องกัน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอกรนในเด็ก อายุน้อยกว่า 6 ปี จำนวน 4-5 ครั้ง • ครั้งที่ 1 อายุ 2 เดือน • ครั้งที่ 2 อายุ 4 เดือน • ครั้งที่ 3 อายุ 6 เดือน • ครั้งที่ 4 อายุ 18 เดือน • ครั้งที่ 5 ฉีดวัคซีนกระตุ้น เมื่ออายุ 4 ปี . หากบุตรหลานมีอาการข้างต้น ควรรีบพบแพทย์ทันที! . ที่มา: กรมควบคุมโรค, กรุงเทพธุรกิจ . ให้เราดูแลคุณในทุกปัญหาสุขภาพ . ดูแลคุณ ด้วยหัวใจ โรงพยาบาลสุขสวัสดิ์อินเตอร์

อ่านต่อ 2024/11/13


4 โรคเรื้อรัง เพิ่มความเสี่ยง…โรคหัวใจ!
4 โรคเรื้อรัง เพิ่มความเสี่ยง…โรคหัวใจ! . เนื่องจากปัจจุบัน พฤติกรรมการใช้ชีวิตในแต่ละวันได้เปลี่ยนแปลงไป ทั้งเรื่องอาหารการกิน การดื่มแอลกอฮอล์มาก การออกกำลังกายน้อย ความเครียดจากการทำงาน ทำให้สุขภาพร่างกายถูกทำลายไปเรื่อยๆ ส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน โรคอ้วน และโรคไต ซึ่งหลายคนอาจมองว่าโรคเรื้อรังเหล่านี้ไม่ร้ายแรง แต่รู้หรือไม่ว่าโรคเรื้อรังเหล่านี้ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคหัวใจในอนาคต และอาจเสี่ยงต่อภาวะรุนแรงที่ส่งผลถึงขั้นเสียชีวิตเฉียบพลันได้ . โรคความดันโลหิตสูง”หัวใจทำงานหนัก..จนเสี่ยงหัวใจล้มเหลว เมื่อระดับความดันโลหิตสูง…จะส่งผลให้หัวใจต้องบีบตัวมากยิ่งขึ้น เพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมความดันโลหิตสูงมีผลต่อการเกิดโรคหัวใจได้ โดยจะส่งผลทำให้เกิดหัวใจโต และหลอดเลือดหัวใจหนาตัวและแข็งตัวขึ้น ผู้ป่วยจึงมักมีอาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด และท้ายที่สุด..อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตแบบเฉียบพลันได้ . โรคเบาหวาน เพิ่มโอกาสโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเบาหวานเป็นอีกโรคเรื้อรังที่พบมาก และผู้ป่วยหลายรายเข้าใจว่าเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง แต่จริงๆ แล้ว ผู้ป่วยโรคเบาหวานมักเสียชีวิตเพราะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมากเป็นอันดับ 1 เลยทีเดียว! เบาหวานยังเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ที่มีอายุน้อย เพราะระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงจะส่งผลให้หลอดเลือดแดงเกิดความผิดปกติและเสื่อมสภาพลงอย่างรวดเร็วนั่นเอง . โรคอ้วนลงพุงโรคฮิต…นำไปสู่ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งเมื่อเกิดการสะสมของไขมันบริเวณช่องท้องมากเกินไป ไขมันเหล่านี้จะสามารถแตกตัวกลายเป็น “กรดไขมันอิสระ” เข้าไปยับยั้งกระบวนการเผาผลาญกลูโคสที่กล้ามเนื้อ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง หรืออาจเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ตีบ และอุดตันได้ . โรคไขมันในเลือดสูง ทำเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยเพิ่มโอกาสของการเกิดหลอดเลือดตีบตันได้ง่าย และหากเกิดขึ้นกับหลอดเลือดหัวใจก็จะส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ซึ่งนอกจากคนอ้วนแล้ว ในคนผอมเองก็ถือว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เพราะนอกจากไขมันที่สะสมอยู่บริเวณหน้าท้อง (visceral fat) หรือไขมันใต้ผิวหนัง (subcutaneous fat) ไขมันยังสามารถอยู่ภายในหลอดเลือด (intravascular lipid) ได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น การไม่มีไขมันสะสมบริเวณหน้าท้องก็ไม่ได้แปลว่าไม่มีไขมันสะสมอยู่ที่ผนังหลอดเลือด นั่นคือเหตุผลที่ว่า.. ทำไมคนผอมจึงเสี่ยงเป็นโรคหัวใจขาดเลือด . เพราะอวัยวะต่างๆ ในร่างกายทำงานสัมพันธ์กัน การดูแลสุขภาพให้ดีห่างไกลจากโรคเรื้อรังก็เท่ากับเป็นการป้องกันโรคหัวใจไปในตัวด้วยเช่นกัน หันมาดูแลตัวเองกันสักนิด เลือกทานอาหารดีๆ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตรวจสุขภาพเป็นประจำ เท่านี้ก็ช่วยให้ห่างไกลโรคเรื้อรัง ห่างไกลโรคหัวใจ

อ่านต่อ 2024/10/30


การฉีด และขยาย หลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Angiography CAG) และการขยายหลอดเลือดหัวใจ PCI คืออะไร ใช้รักษาโรคอะไรได้บ้าง
การฉีด และขยาย หลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Angiography - CAG) และการขยายหลอดเลือดหัวใจ PCI คืออะไร ใช้รักษาโรคอะไรได้บ้าง . การสวนหลอดเลือดหัวใจทางหลอดเลือดแดง(Coronary Artery Angiography - CAG) คือการใส่สายสวนเข้าไปทางหลอดเลือดแดง โดยสามารถทำได้ที่เส้นเลือดแดงที่แขนและขาหนีบ และฉีดสารทึบรังสี เข้าไปดูหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจว่ามีการตีบหรือตันของเส้นเลือดหัวใจหรือไม่ มากน้อยเพียงใด รวมทั้งการฉีดสารทึบรังสีในห้องหัวใจเพื่อตรวจสอบความสามารถในการบีบตัวของหัวใจ ความดันของห้องหัวใจ และการรั่วของลิ้นหัวใจ หากพบมีการตีบหรือตัน แพทย์จะพิจารณารักษาด้วยการขยายหลอดเลือดหัวใจโดยใช้บอลลูนขยายหลอดเลือดและขดลวด (Percutaneous Coronary Intervention - PCI) โดยปกติมักทำเมื่อมีการตีบที่รุนแรงมากกว่า 70% . การสวนหลอดเลือดหัวใจ CAG และ PCI ใช้ในการรักษาโรคอะไรได้บ้าง . การสวนหลอดเลือดหัวใจเป็นการวินิจฉัยภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน หรือภาวะผิดปกติของหัวใจอื่น ๆ เพื่อพิจารณาแนวทางการรักษาต่อด้วยวิธีใช้บอลลูนขยายหลอดเลือด (Percutaneous Coronary Intervention - PCI) ซึ่งไม่ต้องทำการผ่าตัด หรือการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเพื่อสร้างทางเดินของเลือดใหม่ (Coronary Artery Bypass Graft : CABG) . อาการบ่งชี้ของภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน . มีอาการเหนื่อย แน่นหน้าอกเหมือนมีอะไรมาทับ ร้าวไปที่แขน ไหล่ หรือกรามซ้าย มีอาการเหงื่อออก มักเป็นเวลาที่ออกแรง ผู้ที่เคยมีอาการเจ็บแน่นหัวใจมาก่อน เมื่อพักแล้วดีขึ้น แต่ต่อมาอาจมีอาการแย่ลง โดยอาการไม่หายไปเมื่อพัก หรือไม่ดีขึ้นหลังอมยาอมใต้ลิ้น เป็นต้น . โรคหัวใจ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว ทุกคนมีความเสี่ยงที่จะเป็นได้ ไม่ว่าจะอยู่ในวัยไหน ควรตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำทุกปี . ห้องปฎิบัติการตรวจและการฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจ( CATH LAB)โรงพยาบาลสุขสวัสดิ์อินเตอร์ ให้บริการ 24 ชม. #พร้อมให้บริการอย่างครบวงจรเร็วๆนี้ . ดูแลคุณ ด้วยหัวใจ โรงพยาบาลสุขสวัสดิ์อินเตอร์

อ่านต่อ 2024/10/22


8 โรคยอดฮิต ช่วงปลายฝนต้นหนาว มาฝาก พร้อมคำแนะนำให้การดูแลสุขภาพในช่วงนี้
ปลายฝนต้นหนาว คือช่วงรอยต่อระหว่างฤดูฝนกับฤดูหนาว และแน่นอนว่าอากาศในช่วงนี้ จะลดต่ำลงเกือบทุกภูมิภาคของประเทศไทย แถมยังมีมรสุมเข้ามาอย่างต่อเนื่อง สภาพอากาศแปรปรวนบ่อย เป็นสาเหตุทำให้เจ็บป่วยได้หลายโรค . 8 โรคยอดฮิต ช่วงปลายฝนต้นหนาว มาฝาก พร้อมคำแนะนำให้การดูแลสุขภาพในช่วงนี้ มาติดตามกันเลย.... . 1. โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) สามารถติดต่อกันได้ง่าย จากการไอ จาม ใส่กัน โดยเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่จะอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วย . อาการ : หลังรับเชื้อมักมีอาการทันที หรือประมาณ 1-2 วัน จะมีอาการไข้สูง 38-41 องศาเซลเซียส หลายวัน ตัวร้อน หนาวสั่น มีน้ำมูก ปวดหัวรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลียมาก เบื่ออาหาร . วิธีรักษา : รักษาตามอาการ หากมีไข้ให้รับประทานยาลดไข้ ห้ามใช้ยาแอสไพริน หากทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ภายใน 2 วัน ควรรีบพบแพทย์ . 2. โรคปอดบวม (Pneumonia) โรคปอดบวม หรือปอดอักเสบ เป็นโรคที่มีการติดเชื้อหรืออักเสบของปอด เกิดได้จากการติดเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อรา โรคนี้พบได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะจะพบมากในเด็กเล็ก . อาการ : ไอ มีเสมหะ มีไข้ เหนื่อย หายใจลำบาก หายใจหอบเร็ว เจ็บหน้าอก นอกจากนี้บางคนอาจมีอาการอื่น เช่น ปวดท้อง อาเจียน หรือถ่ายเหลวร่วมด้วย โดยเฉพาะในเด็ก . วิธีรักษา : ทุกคนที่มีอาการไข้ไอ เหนื่อย หรือหายใจเร็ว ควรเข้าพบแพทย์ . 3. โรคไข้หวัด (Common cold) ไข้หวัด เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสบริเวณ ทางเดินหายใจส่วนบน เช่นจมูก คอ ไซนัส และกล่องเสียง เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดไข้หวัด มีสายพันธุ์ย่อย ๆ มากกว่า 200 ชนิดเลยทีเดียว แต่ไวรัสที่ก่อให้เกิดไข้หวัดได้มากที่สุด คือ ไรโนไวรัส . อาการ : มีไข้ต่ำ ๆ น้ำมูกไหล คัดจมูก ไอแห้ง ๆ หรือไอมีเสมหะเล็กน้อย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อเล็กน้อย . วิธีรักษา : นอนพักผ่อนให้มาก ๆ ดื่มน้ำให้เพียงพอ กินยาลดไข้ ห้ามใช้ยาแอสไพริน . 4. โรคหอบหืด (asthma) โรคหอบหืด ก็เป็นอีกหนึ่งภัยร้ายที่มาพร้อมหน้าฝน เพราะอากาศที่เปลี่ยนแปลง ความชื้นที่ทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย ล้วนเป็นสาเหตุหลักที่กระตุ้นให้เกิดภาวะหอบหืดเฉียบพลัน โรคหอบหืดยังไม่มีการรักษาโรคให้หายขาดได้ . อาการ : หอบ หายใจลำบาก ไอในตอนเช้า ตอนกลางคืนมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล โดยทุก 2 ใน 3 รายมักมีโรคภูมิแพ้หูคอจมูกร่วมด้วย . วิธีรักษา : ผู้ป่วยโรคหอบหืด จะมียาประจำในการรักษา ได้แก่ ยากิน ยาฉีด และยาสูดพ่น . 5. โรคไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) ในช่วงปลายฝนต้นหนาวนี้ เป็นฤดูกาลระบาดของเชื้อไวรัส RSV โดยเฉพาะในทารก หรือเด็กเล็ก จะเป็นโรคนี้กันเยอะมาก โดยเชื้อนี้สามารถทำให้เกิดอาการปอดอักเสบได้ . อาการ : มีไข้ ไอ จาม หอบเหนื่อย หายใจเร็ว มีเสมหะมาก มีเสียงหวีดในปอด หากมีอาการคล้ายปอดอักเสบร่วมด้วยควรรีบพาเด็กไปพบแพทย์ . วิธีรักษา : รักษาแบบประคับประคองตามอาการป่วย เช่น ให้ ยาแก้ไอ ละลายเสมหะ ยาขยายหลอดลม ยาแก้หวัด ยาลดน้ำมูก ยาลดไข้ เป็นต้น . 6. โรคอุจจาระร่วง (diarrhea) นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์และโฆษกกรมการแพทย์ กล่าวว่า ในช่วงฤดูฝนทำให้มีความชื้นในอากาศมากเชื้อโรคเจริญเติบโต และแพร่เชื้อได้ดี ทำให้อาหาร และน้ำดื่ม มีโอกาสปนเปื้อนเชื้อโรคเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดโรคของระบบทางเดินอาหารได้ง่าย โดยเฉพาะโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน . อาการ : ถ่ายเหลว 3 ครั้งขึ้นไป คลื่นไส้ มีไข้สูง อาเจียนบ่อย รับประทานอาหารไม่ได้ . วิธีรักษา : ดื่มเกลื่อแร่โออาร์เอส รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่ายมากกว่าปกติ . 7. โรคมือ เท้า ปาก (Hand Foot Mouth Disease) อีกหนึ่งโรคฮิตของเด็กในหน้าฝน สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเตอโรไวรัส มีหลายสายพันธุ์ ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง ติดต่อผ่านทางระบบทางเดินอาหาร และการหายใจ โรคมือเท้าปากมักระบาดในโรงเรียน ชั้นอนุบาลเด็กเล็ก หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก . อาการ : มีไข้ เจ็บปาก น้ำลายไหล มีผื่นเป็นจุดแดง หรือตุ่มน้ำใสที่บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า กินอาหารได้น้อย อาจมีผื่นตามลำตัว . วิธีรักษา : โรคมือเท้าปาก ยังไม่มียารักษาจำเพาะ หลักการรักษาเป็นการรักษาตามอาการ ให้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ยาชาเฉพาะที่สำหรับแผลในปาก ดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อชดเชยภาวะขาดน้ำ . 8. โรคหัด (Measles / Rubella) โรคหัดถือเป็นโรคติดต่อจากคนสู่คน ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในเด็กเล็กรวมทั้งเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตของเด็ก การติดเชื้อเกิดจากการรับเชื้อไวรัสผ่านทางอากาศ การสัมผัสละอองน้ำลาย และน้ำมูกของผู้ป่วย ซึ่งช่วง 4 วัน ทั้งก่อน และหลังเกิดผื่นนั้น ถือเป็นระยะเวลาของการแพร่เชื้อ . อาการ : มีไข้สูง มีน้ำมูก ไอ ตาแดง มีผื่นเป็นปื้นสีแดง บริเวณไรผม มาที่หน้า ลำตัว แขน ขา . วิธีรักษา : ยังไม่มีตัวยาที่สามารถรักษา หรือกำจัดเชื้อไวรัสโรคหัดอย่างเฉพาะเจาะจง ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองได้ด้วยการดื่มน้ำวันละ 6–8 แก้ว พักผ่อนให้เพียงพอ หากมีผื่นขึ้น ควรอยู่ในบ้าน เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 4 วันหลังจากผื่นเริ่มปรากฏ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังผู้คนรอบข้าง . วิธีดูแลตนเองในช่วง ปลายฝนต้นหนาว 1. หลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือคลุกคลีกับผู้ป่วย รวมทั้งไม่ใช้สิ่งของรวมกับผู้ป่วย เช่น จาน ช้อนส้อม แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ฯลฯ ถ้ามีผู้ป่วยในบ้าน ควรให้ปิดปากด้วยหน้ากากอนามัย เวลาไอ หรือจาม 2. ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่อย่างถูกวิธี หรือใช้แอลกอฮอล์เจลทำความสะอาดมือ 3. ช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ไข้หวัดใหญ่ ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่ที่มีคนแออัดอากาศถ่ายเทไม่สะดวก 4. กินอาหารที่มีประโยชน์ งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากจะทำให้ระบบภูมิต้านทานโรคในร่างกายต่ำลง และติดเชื้อได้ง่าย 5. ควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ รักษาร่างกายให้อบอุ่น และไม่ใส่เสื้อผ้าที่เปียกชื้น 6. เมื่อเริ่มมีอาการไข้หวัด ควรนอนพักมาก ๆ และดื่มน้ำบ่อย ๆ ถ้าตัวร้อนมาก กินยาลดไข้ และใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดตัว หรือถ้าอาการไม่ดีขึ้น เช่น มีอาการไอมากขึ้น แน่นหน้าอก มีไข้นานเกิน ๒ วัน ควรไปพบแพทย์ทันที 7. หากมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ และมีประวัติใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นไข้หวัดใหญ่ ควรไปพบแพทย์ทันที . ขอขอบคุณข้อมูลจาก: Ged Good Life . โรงพยาบาลสุขสวัสดิ์อินเตอร์ ดูแลคุณด้วยหัวใจ Suksawat Inter Hospital / suksawatinterhospital.com

อ่านต่อ 2024/10/16


เช็คด่วน! 5 อาการ เตือน โรคข้อเข่าเสื่อม
เช็คด่วน! 5 อาการ เตือน “โรคข้อเข่าเสื่อม” ข้อเข่าเสื่อม เป็นอาการที่เกิดจากความเสื่อมสภาพและการสึกหรอจากการใช้งานของข้อเข่า อาการข้อเข่าเสื่อมไม่ได้เกิดในเฉพาะผู้สูงวัยเท่านั้น แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย หากมีการใช้งานข้อเข่าไม่ถูกต้องหรือใช้งานหนักมากเกินไป เพราะเข่าถือเป็นอวัยวะสำคัญที่ใช้รองรับน้ำหนักตัว ทั้งการยืน การเดิน การวิ่ง . เช็คลิสต์ 5 ข้อ อาการข้อเข่าเสื่อม • ได้ยินเสียงดังในเข่า • ข้อเข่าฝืดแข็ง เหยียดหรืองอเข่าลำบาก • ปวดเสียวภายในข้อเข่า • งอเข่าได้ไม่สุด ข้อเข่าติดแข็ง • กล้ามเนื้อรอบเข่าอ่อนแรง เมื่อยง่าย ปวดเข่าตอน เคลื่อนไหว . “โรคข้อเข่าเสื่อมมักพบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปนอกจากนี้ยังสามารถพบได้ในกลุ่มคนอายุน้อย เช่น ผู้ที่เคยได้รับบาดเจ็บของเส้นเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณรอบข้อ กระดูกแตก มีภาวะของโรคบางชนิด เช่น เกาต์ รูมาตอยด์ เป็นต้น” . อีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะข้อเข่าเสื่อม ได้แก่ ท่าทางหรือการเล่นกีฬาบางชนิด เช่น นั่งยองๆ นั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ จะเกิดแรงกดที่กระดูกอ่อนของข้อเข่า และการเล่นกีฬาผาดโผน เช่น วิ่ง กระโดด จะทำให้เกิดความเสี่ยงภาวะข้อเข่าเสื่อมมากกว่าคนทั่วไป . ข่าเสื่อม … ป้องกันและรักษาได้ ข้อเข่าเสื่อม เกิดจากภาวะที่กระดูกอ่อนภายในข้อเข่าเกิดการสึกหรอ และทรุดตัว ทำให้มีอาการปวด บวม บริเวณข้อเข่า ซึ่งส่งผลต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน อาการข้อเข่าเสื่อมสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ปัจจุบัน ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมในประเทศไทยมีเพิ่มมากขึ้น และมีผู้เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมปีละหลายหมื่นราย โดยผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดควรมีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป โดยผู้ที่มีอาการเหล่านี้ ควรเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม -มีอาการเจ็บปวดรุนแรง หรือบวมแข็งที่ข้อต่อเข่า -เจ็บปวดบริเวณข้อต่อเข่าอย่างรุนแรง ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมถึงการนอนหลับ -มีการผิดรูปของเข่า เช่น เข่าโค้งออก หรือเกเข้าใน -ขยับเข่าติดขัดลำบาก งอ หรือเหยียดเข่าลำบาก -ใช้การรักษาแบบอื่น เช่น เปลี่ยนวิธีการใช้งาน ยาทาน หรือการฉีดยาเข้าในเข่าไม่ได้ผล . โรงพยาบาลสุขสวัสดิ์อินเตอร์ ดูแลคุณด้วยหัวใจ Suksawat Inter Hospital / suksawatinterhospital.com

อ่านต่อ 2024/05/21


โรคหัวใจมีกี่ชนิดอาการแบบนี้…เสี่ยงเป็นโรคชนิดไหน?
โรคหัวใจมีกี่ชนิดอาการแบบนี้…เสี่ยงเป็นโรคชนิดไหน? . โรคหัวใจและหลอดเลือด (Heart Disease) เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย และมีแนวโน้มว่าจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากปัจจัยหลายประการ ทั้งปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ เพศ และปัจจัยที่ควบคุมได้ เช่น การออกกำลังกาย น้ำหนักเกิน รวมไปถึงพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ดังนั้น ผู้ป่วยโรค หัวใจควรได้รับการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องการบริโภคอาหารและการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคอื่นๆ แทรกช้อนได้ . ชนิดและะอาการของผู้ป่วยโรคหัวใจดังนี้ - โรคหลอดเลือดหัวใจ: อาการเจ็บหรือแน่นหน้าอก ร้าวไปตามกราม แขน ลำคอ -โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ: อาการหัวใจเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติใจสั่น เหนื่อยง่าย -โรคกล้ามเนื้อหัวใจ: อาการเหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่มบวมตามแขน ขา -โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด: อาการเจ็บหรือแน่นหน้าอกร้าวไปตามกราม แขน ลำคอเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อทารกอยู่ในครรภ์มารดา -โรคลิ้นหัวใจ: อาการเหนื่อยง่ายและเกิดภาวะหัวใจวาย -โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ: อาการไข้เรื้อรัง อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า หัวใจเต้นผิดปกติ . การตรวจสุขภาพหัวใจ จึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่ทุกท่านควรใส่ใจ . ห้องปฎิบัติการตรวจและการฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจ( CATH LAB)โรงพยาบาลสุขสวัสดิ์อินเตอร์ ให้บริการ 24 ชม. โรงพยาบาลสุขสวัสดิ์อินเตอร์ ดูแลคุณด้วยหัวใจ Suksawat Inter Hospital / suksawatinterhospital.com

อ่านต่อ 2024/05/15


วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ทำไมต้องฉีดทุกปี ?
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ทำไมต้องฉีดทุกปี ? จากสภาพอากาศที่แปรปรวน ส่งผลให้มีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่บ่อยขึ้น ซึ่งไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส Influenza ที่กระจัดกระจายอยู่ในอากาศ เมื่อใดที่ภูมิคุ้มกันของเราอ่อนแอลงและได้รับเชื้อเข้าไป ก็จะส่งผลให้เราป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ได้ ซึ่งวิธีการป้องจากการป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ที่ดีที่สุดก็คือ…การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ . สาเหตุที่ต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี เป็นเพราะ...? -เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เปลี่ยนสายพันธุ์ทุกปี -ลดโอกาสป่วย ด้วยการฉีดก่อนฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่โรคระบาดหนัก -ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง -ช่วยให้มีภูมิคุ้มกัน ครอบคลุมกับเชื่อไวรัสในแต่ละปี หลังฉีดวัคซีน 2 สัปดาห์ จะเกิดภูมิคุ้มกันได้นานถึง 1 ปี . ใครบ้างที่ “ควร” ได้รับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ? ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 โรค ได้แก่ เบาหวาน หลอดเลือดสมอง ไตวาย หอบหืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจ และโรคมะเร็งที่อยู่ระหว่างได้รับเคมีบำบัด -หญิงมีครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือน ขึ้นไป -บุคคลที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป -เด็กเล็ก อายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี -ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ -ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย -ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ติดเชื้อ HIV โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพอยู่แล้ว ยิ่งสมควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี . โรงพยาบาลสุขสวัสดิ์อินเตอร์ ดูแลคุณด้วยหัวใจ Suksawat Inter Hospital / suksawatinterhospital.com

อ่านต่อ 2024/05/02


ติดต่อเรา

โรงพยาบาลสุขสวัสดิ์อินเตอร์ เลขที่ 272 ถนนสุขสวัสดิ์ แขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ 10140

02-874-6766 (ถึง) 70
FAX : 02-427-4070
แผนที่และการเดินทาง

              

โรงพยาบาลสุขสวัสดิ์อินเตอร์

เลขที่ 272 ถนนสุขสวัสดิ์ แขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ 10140

   02-874-6766 (ถึง) 70

                   

ฝากข้อความติดต่อกลับ

ฝากข้อความติดต่อกลับ

-->

กดติดตามรับข่าวสาร

Copyrights © 2025 All Rights Reserved. www.suksawatinterhospital.com Version 1.0. Designed by webbeedev.com +69,891 Times.